สั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติม

​​Mobile: 062-195-1909

Line id: @getbest 

แผ่นกันเสียงแบบไหนดีที่สุด

และไม่ควรใช้วัสดุที่สามารถติดไฟได้มากรุในผนัง เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงของการเกิดไฟลุกไหม้ ภายในอาคาร 

สรุปคุณสมบัติที่สำคัญของแผ่นกันเสียงที่ใช้กรุภายในผนังเพื่อเพิ่มการป้องกันเสียง


1. เป็นวัสดุประเภทเส้นใย มีรูพรุนเสียง เพื่อให้พลังงานโดนดูดซับได้ดี 

2. มีความคงทน ภายในภายนอกอาคาร จะต้องเลือกใช้เส้นใยที่สามารถทนน้ำได้ เช่น โพลีเอสเตอร์ 

3. มีความหนาแน่นอย่างน้อย มากกว่า 30 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร เพื่อมีคุณสมบัติในการทำลายพลังงานเสียงได้ดี และความคงทนสูง 

4. ไม่ควรใช้วัสดุประเภทรูปิด น้ำหรืออากาศไม่สามารถซึมผ่านเข้าไปในเนื้อวัสดุได้ ซึ่งทำให้ขาดคุณสมบัติการกันเสียงเมื่อใส่ในผนัง 

ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการกรุฉนวนเข้าในผนังเพื่อเพิ่มการกันเสียง คือใช้ฉนวนกันความร้อน แบบ รูปิด (Closed cell)  โดยเฉพาะพวกแผ่นโฟม ซึ่งจะทำให้ผนังที่กรุฉนวนประเภทฉนวนรูปิด ไม่มีความพรุน กันเสียงได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น 

นอกจากนั้น วัสดุเส้นใยที่มีความหนาแน่นน้อย จะยุบตัวได้ง่าย โดยใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่เดือน ซึ่งจะทำให้ภายในช่องว่างเกิดโพรงอากาศ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการกันเสียงของระบบผนังลดลง 

จากที่เรารู้กันแล้ววว่า แผ่นกันเสียงใช้งานอย่างไรแล้วช่วยลดเสียงดังได้มากแค่ไหน แล้วแผ่นกันเสียงที่อยู่ในท้องตลาด แบบไหนดีที่สุด 


เนื่องจากสินค้าหลายประเภท มองเห็นโอกาส การขายสินค้าในงานกันเสียง โดยการประยุกต์ใส่ไว้ในช่องว่างของผนังเบา หรือผนังก่ออิฐสองชั้น 


แต่ตามหลักการที่ถูกต้อง แผ่นกันเสียงควรจะต้องเป็นวัสดุประเภทเส้นใย หรือ Fibrous absorber ที่มีค่าการดูดซับเสียง NRC มากกว่า 0.7 จึงจะเหมาะสม 


อย่างไรก็ตาม นอกจากปัจจัยเรื่องการดูดซับเสียง ของวัสดุชนิด fibrous absorber แล้ว ผู้ซื้อควรจะต้องคำนึงถึง อายุการใช้งาน ของวัสดุประเภทเส้นใยด้วย 


เนื่องจากวัสดุประเภทเส้นใย จะมีความบอบบาง และความคงทนน้อย ยิ่งถ้าเจอความชื้นหรือการสัมผัสน้ำโดยตรง จะทำให้วัสดุประเภทเส้นใยเสียหายได้เร็ว 


ในความเห็นของวิศวกร ไม่ควรใช้วัสดุประเภทเส้นใยชนิดที่เป็นวัตถุอินทรีย์ (Organic fiber) เพราะวัสดุพวกนี้อายุการใช้งานต่ำ มีโอกาสเป็นเชื้อรา และเป็นอาหารของปลวกได้