สั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติม

​​Mobile: 062-195-1909

Line id: @getbest 

รูปแบบผนังเบาเพื่อป้องกันเสียงห้องซ้อมดนตรีทั่วไป (ไม่มีกลอง) 

แนะนำวิธีติดแผ่นฟองน้ำซับเสียงสำหรับห้องซ้อมดนตรี

ลายแบน (Flat shape) 


แผ่นขนาด 50 * 50 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร 




ลายปิรามิด (มีเฉพาะสีดำ)


แผ่นขนาด 50 * 50 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร 




สนใจสั่งซื้อฟองน้ำซับเสียง เกรดพรีเมี่ยม  เนื้อแน่น สีสวย และ ไม่ลามไฟ !!!


ติดต่อวิศวกรโบ๊ต 062-195-1909 

   ระบบผนังสำหรับห้องซ้อมดนตรีที่ไม่มีการเล่นกลอง

รูปแบบผนังเบาเพื่อป้องกันเสียงห้องที่มีการซ้อมกลอง 

ลายแบน (Flat shape) 


แผ่นขนาด 50 * 50 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร 




ตัวอย่างของการทำห้องพักเสียง (Sound Lock) เพื่อเพ่ิมประสิทธิภาพในการป้องกันเสียง

ลายวี (V shape) 


แผ่นขนาด 50 * 50 เซนติเมตร หนา 5 เซนติเมตร 







รูปแบบระบบผนังป้องกันเสียง สำหรับห้องซ้อมดนตรี


ผนังสามารถทำได้สองรูปแบบครับ คือ 1) กรณีของมีผนังก่ออิฐเดิมอยุ่แล้ว  หรือ 2) ใช้ระบบผนังเบากั้นสำหรับกันเสียง 




ระบบผนังสำหรับห้องซ้อมดนตรีที่การเล่นกลอง      

เปรียบเทียบการติดไฟระหว่าง "ฟองน้ำทั่วไป" กับ "ฟองน้ำไม่ลามไฟ"

หน้าต่างและประตู


เนื่องจากห้องซ้อมดนตรี มีระดับความดังภายในห้องที่สูงมากหากจำเป็นต้องติดตั้งหน้าต่างไว้ภายในห้องซ้อมดนตรี แนะนำให้ติดตั้งหน้าต่างแบบบานตาย (ไม่สามารถเปิดได้)  เท่านั้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงสูงสุด  โดยแนะนำให้รูปแบบของระบบหน้าต่างดังแสดงในรูป

รูปแบบฝ้าเพดานในการกันเสียง


หากเหนือฝ้าเป็นโถงช่องว่างเชื่อมต่อกันหมด เช่น ไม่ได้ก่อผนังชนท้องพื้นคอนกรีตชั้นบน หรือเหนือฝ้าเป็นโถงหลังคา จะต้องทำระบบฝ้า 2 ชั้น เพื่อให้มีคุณสมบัติป้องกันเสียงได้ 

(แต่จะต้องระวังเรื่องของความสูงของฝ้าเพดานที่จะลดน้อยลงครับ) 

ปัญหาที่เสียงกลองทะลุออกไปจากห้องรบกวนห้องอื่นๆ มาจาก


•ประตูมีรอยรั่ว เสียงทะลุออกมามาก อีกทั้งห้องเรียนอื่นๆ ประตูก็มีรอยรั่ว เสียงเลยเข้าไปรบกวนมาก


•ทำผนังไม่ชนท้องพื้นปูนด้านบน แล้วใช้ฝ้าฉาบเรียบ 9 มม. แผ่นเดียว (หรือฝ้าทีบาร์) แถมเจาะดาวไลต์ เสียงเลยทะลุออกไปมาก แล้วอ้อมลงอีกห้องได้ง่าย


•เป็นอาคารชั้นเดียวเหนือฝ้าเป็นโถงหลังคา แล้วใช้ฝ้าฉาบเรียบ 9 มม. แผ่นเดียว (หรือฝ้าทีบาร์) แถมเจาะดาวไลต์ เสียงเลยทะลุออกไปมาก แล้วอ้อมลงอีกห้องได้ง่าย


•แม้จะทำผนังชนท้องพื้นปูนแล้ว แต่ระบบผนังเก็บเสียงไม่อยู่ นึกว่าใช้ฉนวนตรงกลางร่วมกับแผ่นยิปซั่ม 9 มม อย่างละแผ่นนึกว่าจะกันอยู่ 


ประตูเก็บเสียงไม่ได้

ผมให้ความสำคัญสูงสุดกับปัญหารอยรั่วที่ประตูครับ เพราะเป็นสาเหตุที่ทำให้เสียงดังทะลุออกไปข้างนอกได้ง่ายมากครับ

ประตูห้องซ้อมส่วนใหญ่ เป็นแค่ประตูไม้ ไม่ได้ออกแบบให้รอยต่อวงกบกับตัวบานปราศจากรอยรั่ว อีกทั้งประตูทำจากไม้อัด ต่อให้ไม่มีรอยรั่วก็เก็บเสียงไม่ได้อยู่ดี ถ้าให้ผมแนะนำเลยนะครับ

สั่งระบบประตูกันเสียงของ Windsor มาใช้ง่ายที่สุด แต่ไปบอกร้าน SCG HOMESOLUTION ว่าต้องการปะตู Windsor เก็บเสียง แบบ Multi Lock แล้วกำหนดให้ใช้กระจกแบบ ลามิเนตหนา 12 มิลลิเมตร รับประกันว่าเก็บเสียงดีกว่าประตูไม้ที่ไม่ได้ถูกออกแบบและผลิตให้กันเสียงเยอะครับ

หากเป็นห้องซ้อมกลอง หรือห้องซ้อมทั้งวง อาจจะต้องทำประตูเป็น 2 ชุด แยกวงกบ อิสระ จะช่วยป้องกันเสียงได้มากเลยครับ
ส่วนห้องเปียโน และห้องอื่น ใช้ประตูบานเดี่ยว แบบเก็บเสียงก็เพียงพอครับ 


มีคนถามเยอะมากถึงปัญหา ห้องซ้อมดนตรีเก็บเสียงไม่อยู่ ซึ่งเป็นปัญหามากๆ สำหรับเจ้าของสถานที่ครับ
ที่ปรึกษาบ่อยๆ ก็คือเจ้าของโรงเรียนสอนดนตรี จะเดือดร้อนที่สุด
วันนี้วิศวกรเลย ทำบทความมาแชร์เรื่องของการออกแบบผนังเก็บเสียงสำหรับห้องซ้อมดนตรี เพื่อจะได้ห้องที่สามารถเก็บเสียงได้ และใช้งานได้ทุกสถานการณ์ครับ 


เท่าที่เจอมานะครับ ห้องซ้อมดนตรีจะแบ่งออกเป็นอย่างนี้ครับ


1.ห้องร้องเพลง
2.ห้อง เปียโน
3.ห้องเครื่องสาย เช่น ไวโอลิน กีต้าร์ เชลโล่
4.ห้องกลอง
5.ห้องซ้อมวงรวม

ถ้าจัดลำดับความดังจากกิจกรรมเสียงภายในห้องนั้น แน่นอนครับ ห้องกลองและซ้อมวงรวมนี่ดังที่สุด หนวกหูที่สุด เวลาซ้อมกลองห้องอื่นแทบจะใช้งานไมได้เลยครับ 


ปัญหาที่ผู้สนใจถามวิศวกรมากคือปัญหาเรื่องการกันเสียงครับ โดยห้องซ้อมมีปัญหาดังนี้


1.อยากจะใช้แผ่นซับเสียงติด จะทำให้เสียงไม่ทะลุออกไปข้างนอกหรือไม่
2.เสียงในห้องเรียนกลอง ดังทะลุออกมาข้างนอกทำให้ห้องอื่นๆ ใช้งานไม่ได้ (ติดแผ่นซับเสียงข้างในไม่ช่วยเลย)
3.ห้องเสียงก้อง อยากจะให้ช่วยซับเสียงก้อง เพราะเล่นแล้วฟังไม่รู้เรื่อง 


ทำความเข้าใจใหม่ เสียงทะลุออกมาภายนอกห้อง ไม่เกี่ยวกับการดูดซับเสียง


•หลายคนเข้าใจผิดว่า พอเวลาห้องซ้อมกันเสียงไม่อยู่ ถ้าเอาอะไรไปแปะๆ ไว้ด้านในห้องจะเก็บเสียงได้ !!!
•อย่าเสียเงินฟรีทำอย่างนั้นนะครับ หากเสียงทะลุจากห้อง เนื่องจากห้องมีรอยรั่ว ตามบริเวณต่างๆ หรือกันเสียงมันทะลุตรงๆ ไม่อยู่ ต้องการที่ผนัง ฝ้า หรือประตู ไม่ใช่ไปแก้โดยการซับเสียงนะครับ 

เทคนิคการออกแบบระบบกันเสียง ระบบเก็บเสียงห้องซ้อมดนตรีโดยฉนวน ISO-NOISE

ระบบผนังกันเสียงและฝ้ากันเสียงสำหรับห้องซ้อมดนตรี