สั่งซื้อหรือสอบถามเพิ่มเติม

​​Mobile: 062-195-1909

Line id: @getbest 


นอกจากนี้ หูมนุษย์ยังมีพฤติกรรมที่น่าสนใจที่ผู้อ่านควรที่จะทราบดังต่อไปนี้ครับ

ดังนั้นเมื่อหูมนุษย์รับรู้ความดังของเสียงแต่ละความถี่ไม่ตรงกัน นักวิทยาศาสตร์เลยมีการปรับแก้เสียงที่วัดได้จากเครื่องวัดให้สอดคล้องกับการรับรู้ของหูมนุษย์ โดยการปรับแก้ ความถี่ด้วยค่าถ่วงน้ำหนักแบบ A
เพราะฉะนั้นค่าระดับเสียงที่มีการปรับแก้ด้วยค่าถ่วงน้ำหนักแบบ A หน่วยความดังจะถูกห้อยท้ายด้วยตัวอักษร A จะกลายเป็น dB(A)


ยกตัวอย่างเช่น  เราไปวัดเสียงในโรงงาน เสียงเครื่องจักรที่ทำงานส่วนใหญ่เป็นเสียงความถี่ต่ำ เมื่อเอาเครื่องวัดเสียงตรวจวัดระดับเสียง อ่านค่าได้ 80 เดซิเบล แต่เมื่อปรับแก้ให้สอดคล้องกับความดังที่หูมนุษย์รู้สึก จะกลายเป็น 74 เดซิเบลเอ เป็นต้น


แต่ในทางกลับกัน เสียงเครื่องจักรจากโรงงานอีกแห่ง เป็นเสียงแหลม มีความถี่สูงประมาณ 1000 Hz เป็นหลัก เพื่อทำการตรวจวัดเสียง
วัดระดับความดังได้ 85 เดซิเบล แต่เมื่อปรับแก้แล้วกลายเป็นว่า ความดังอยู่ที่ 85 เดซิเบลเอ ซึ่งค่าความดังใกล้เคียงกับก่อนการปรับแก้ เพราะหูของเราไวต่อเสียงแหลมตามหลักการในการปรับแก้อยู่แล้ว เป็นต้น

Fletcher–Munson ได้ประดิษฐ์กราฟที่เรียกว่า Equal Loudness Contour ขึ้นมา ซึ่งกราฟนี้ ใช้การทดลองให้คนฟังเสียงความถี่ต่างๆ ที่ความดังแตกต่างกัน เพื่อสร้างเส้นกราฟที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความดังกับความถี่ขึ้น

โดยสรุปเนื้อหาหลักได้ว่า

1.มนุษย์รับรู้เสียงสูงได้ดีกว่าเสียงต่ำ
2.เมื่อเสียงมีความดังมากขึ้น หูมนุษย์จะสามารถรับรู้ความดังของเสียงต่ำและสูงใกล้เคียงกัน

สิ่งที่น่าสนใจ เกี่ยวกับเรื่องของการรับรู้ความถี่ของหูมนุษย์ นั้นก็คือ หูมนุษย์จะรับรู้ความดังของเสียงความถี่ต่ำ ได้น้อยกว่าความถี่สูง
หรือพูดอีกแบบก็คือ หูของคนเราไวต้องเสียงแหลม มากกว่าเสียงต่ำ

สิ่งที่พิสูจน์ง่ายๆ คือ เวลาเราได้ยินเสียงนกหวีดเสียงดังๆ จะรู้สึกรำคาญกว่าได้ยินเสียงเครื่องจักรครางมากกว่า

กระบวนการได้ยินของมนุษย์ เริ่มต้นจากใบหูรับพลังงานคลื่นเสียงจากรอบตัวเข้ามายังภายในช่องหู เมื่อพลังงานเสียงเข้าไปจะสร้างความสั่นสะเทือนที่แก้วหู การสั่นสะเทือนจะถูกส่งเข้าไปในสมองแปลผลทั้งเรื่องความดัง และความถี่เสียง
ทำให้เรารับรู้เสียงได้อย่างสมบูรณ์ 

การได้ยินเสียงของหูมนุษย์