แนวทางการแก้ไข คือพยายามควบคุมที่ต้นเหตุที่สร้างเสียงกระแทกจะได้ผลที่ดีที่สุดครับ ยกตัวอย่างเช่น
- การติดโช๊ค อัพให้ประตุ หรือบานตู้ที่จะเกิดเสียงกระแทก
- การปูพรม กระเบื้องยางอย่างหนา หรือปูพื้นไม้ลามิเนต ที่มีการองแผ่นโฟมด้านล่าง บริเวณพื้นที่
ที่มีโอกาสเกิดเสียงกระแทก
- การรองฐานลำโพงด้วยแท่นรองที่มีน้ำหนักและวางบนลูกยางหรือสปริง สำหรับลำโพง Subwoofer
- การรองเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนด้วยสปริงหรือลูกยาง
หลักการในการป้องกันเสียงที่มาตามโครงสร้างปัญหาตามโครงสร้างที่วิศวกรเคยประสบและให้คำแนะนำแก้ไข ยกตัวอย่างเช่น
- โรงแรมแห่งหนึ่ง พื้นห้องพักปูกระเบื้องทั้งตึก เพียงแค่ห้องข้างๆ ทำกุญแจหล่น หรือลากเก้าอี้ ห้องที่อยู่ใกล้กับห้องที่เกิดเสียง
จะได้ยินกันทั้งหมด
- โรงแรมที่มีผับ เทค อยู่ตัวโรงแรม มีการวางลำโพงเบสไว้บนพื้น แรงสั่นสะเทือนส่งไปยังห้องพักที่อยู่ด้านบน
- เสียงคนใส่ส้นสูงเดินบนตึก ได้ยินเสียงเดินชัดเจน
- เสียงคนเดินบนพื้นไม้ ทำให้ห้องด้านล่างได้ยินเสียงคนเดิน
- เสียงปิดประตู หรือปิดตู้บิ้วอินท์ ที่อยู่ติดผนัง
- เสียงคอยล์ร้อนแอร์ หรือเครื่องจักรสั่น
แนวทางการแก้ไข รูปแบบระบบผนังที่แนะนำให้ใช้จะอยู่ในหน้า Solution นะครับ ฝากตามอ่านเนื้อหาสาระดีดีกันต่อด้วยนะครับ
การวางแผนในการป้องกันเสียงเพื่อลดค่าใช้จ่ายให้น้อยที่สุด ควรทำตั้งแต่การออกแบบ ซึ่งการวางแปลนอาคารโดยรู้หลักการเรื่องเสียงจะทำให้ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงแก้ไข หลังจากมีคนเข้าอยู่อาศัยน้อย ยกตัวอย่างเช่น
การวางผังให้ห้องน้ำ ห้องเก็บของ หรือห้องใดๆ ที่ไม่ได้ซีเรียสเรื่องของความเงียบขั้นระหว่างห้องต้องการความเงียบ กับห้องที่มีกิจกรรมเสียงดัง
การวางผังให้ห้องที่ต้องการความเงียบอยู่ในบริเวณที่มีผู้คนเดินผ่านน้อย หรือห้องอยู่ในฝั่งที่ตรงข้ามกับถนนที่มีเสียงจราจร เป็นต้น ก็สามารถช่วยป้องกันปัญหาเรื่องเสียงรบกวนได้ครับ
หรือการออกแบบระบบผนังที่มีคุณสมบัติการป้องกันเสียงไว้ตั้งแต่การก่อสร้างเลยซึ่งจะประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการที่มาทำทีหลังตอนที่มีคนเข้ามาอยู่แล้ว
หมายเลข 1 เสียงสามารถทะลุผ่านผนังได้โดยตรง
หมายเลข 2 ลอดโคมไฟดาวไลท์และอ้อมโถงฝ้าลงมาอีกด้าน
หมายเลข 3 เดินขึ้นท่อแอร์มาลงอีกห้อง หากท่อแอร์เชื่อมต่อกัน หรืออ้อมหน้าต่างที่เปิดอยู่
หมายเลข 4 ลอดตามรอยรั่วบริเวณขอบผนัง
การหลักการป้องกันเสียงที่มากับอากาศ
เสียงที่มากับอากาศนั่น สิ่งแรกที่ต้องจัดการคือ การจัดการกับรอยรั่วที่จะทำให้เสียงเดินทางลอดผ่านเข้าไปภายในห้องผู้รับได้ครับ
เสียงเดินทางผ่านเข้ามาในห้องทางไหนบ้างตามนี้เลยครับ
เสียงที่เกิดจากการกระแทก และแรงสั่นสะเทือนไหลมาตามโครงสร้าง ได้แก่-เสียงปิดประตู เสียงปิดตู้บิวอินท์ที่ติดกับผนัง
- เสียงลากโต๊ะ
- เสียงใส่รองเท้าพื้นแข็งเดินในบ้าน
- เสียงจากการกระโดดโลดเต้น เสียงวิ่ง
- เสียงเครื่องซักผ้า หรือเสียงลำโพงซับวูฟเฟอร์ที่เขย่าพื้นเวลาเปิดดังๆ
ยกตัวอย่างเสียงที่เกิดขึ้นลอยมากับอากาศ ได้แก่
- เสียงคนข้างบ้าน หรือข้างห้องเปิดทีวีเสียงดัง เสียงรบกวนไหล มาตามรอยรั่วของผนัง หน้าต่าง ประตู หรือทะลุผนังมาตรง
- เสียงข้างห้องหรือข้างบ้าน ร้องเพลง สังสรรค์ หรือตะโกนโวยวาย
- เสียงเครื่องยนต์ ท่อไอเสีย ที่เร่งแรงๆ แล้วเสียงทะลุเข้ามาภายในห้อง
- เสียงเครื่องบิน
ในการที่ดำเนินการควบคุมปัญหาเสียงรบกวนนั้น สิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องแยกให้ออกว่าเสียงรบกวนที่ดังเข้ามาในห้องผู้รับ นั้นเป็น
เสียงที่ ลอยมากับอากาศ (Air borne sound) หรือ
เสียงสั่นสะเทือนที่ไหลมาตามโครงสร้างแล้วมาเขย่าฝ้าหรือผนังในห้องผู้รับ (Structure Borne Sound) กันแน่
เนื่องจากเสียงรบกวน 2 แบบนี้ มีวิธีการจัดการที่ไม่เหมือนกัน หากวิเคราะห์ผิดพลาดจะทำให้แก้ไขไม่ตรงจุดและไม่สามารถจัดการเสียงรบกวนได้ครับ
กิจกรรมที่สร้างเสียงรบกวนเข้ามาภายในอาคาร โดยเฉพาะห้องที่เราอยู่นั้นมี หลายลักษณะครับ เช่น
- เสียงจากยานพาหนะที่สัญจรบนถนนใกล้อาคาร รวมทั้งแรงสั่นสะเทือนจากถนนด้วย
- เสียงเพื่อนบ้าน ทำกิจกรรมที่สร้างเสียงรบกวนเช่น เปิดเครื่องเสียง ร้องเพลงตะโกน สังสรรค์
- เสียงจากงานก่อสร้าง หรือการทำงานที่มีเสียงดัง-เสียงเปิดทีวี วิทยุ เครื่องเสียงดังๆ จากภายในบ้าน
- เสียงคนคุยกัน สังสรรค์ จากภายในบ้าน
- เสียงกระแทกรูปแบบต่าง ไม่ว่าจะทำอาหาร กระโดดโลดเต้นในอาคาร เป็นต้น